Sunday, February 17, 2019

Woocommerce คืออะไร

Woocommerce คือ ส่วนเสริม หรือเรียกว่า plug-in สำหรับช่วยให้ระบบ Wordpress มีความสามารถในการขายสินค้าได้อย่างง่าย Woocommerce เป็นส่วนเสริมที่ใช้ทำร้านค้าออนไลน์ของ wordpress ที่มีผู้ใช้งานมากกว่าส่วนเสริมอื่นๆ หรือมีผู้ใช้งานมากกว่า 10 ล้านเว็บไซต์ทั่วโลก

Wordpress คืออะไร

Wordpress คือระบบจัดการเนื้อหา ที่ได้รับความนิยมในการใช้สร้างเว็บไซต์ชนิดต่างๆ ปัจจุบัน Wordpress เป็นระบบที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก มีเว็บไซต์มากกว่า 30 ล้าน เว็บไซต์ใช้งาน wordpress อยู่ หรือมากกว่า 30% ของเว็บไซต์ทั้งโลก เนื่องจากความสามารถสูง ใช้งานง่าย เหมาะกับการทำ SEO มีผู้ใช้ wordpress ทำ blog, เว็บไซต์บริษัท เว็บไซต์องค์กรณ์ เว็บไซต์ขายของ e-commerce มากมาย

Monday, December 25, 2017

วิธีการตั้งค่า สำหรับตัวแทนขาย

หนึ่งในวิธีการตลาดออนไลน์ที่ดีในการเพิ่มยอดขายโดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มคือการใช้ระบบตัวแทนขาย หรือ Affiliate marketing
โดยผู้ที่ต้องการสร้างรายได้จากการโปรโมทสินค้าโดยไม่อยากลงทุนซื้อสินค้ามาสต็อคเองก็ได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน

วิธีการตั้งค่ามีดังนี้
1.
เมนู การขาย-> การร่วมโปรโมทธุรกิจ
คลิก เพิ่ม
ใส่ข้อมูลผู้ที่เป็นตัวแทนขาย
 




Tuesday, October 27, 2015

วิธีใส่รูปโลโก้ร้านค้าออนไลน์

สำหรับใครที่ต้องการเปลี่ยนรูปโลโก้ร้านค้าออนไลน์แบบด่วนๆ เชิญทำตามนี้เลยครับ
1. คลิกเมนู System -> Setting  ->  คลิกที่แท็บ Image
2.  คลิก browse จะมี Image Manager  โผล่ขึ้นมา
3. ใน Image Manager คลิกปุ่ม Upload  จะมีหน้าต่างเปิดขึ้นมาให้เราเลือกรูปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
4. คลิกเลือกรูปโลโก้ที่ต้องการ แล้วกด Open รูปจะถูกอัพโหลดขึ้นสู่เซิฟเวอร์
5. คลิกเลือกรูปที่อัพโหลดเสร็จแล้ว
เปลี่ยนรูปโลโก้ร้าน 

เลือกรูปโลโก้ที่อัพโหลดขึ้นไป

แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ

การบริหารร้านค้าออนไลน์ : การตั้งค่าของร้านเบื้องต้น

ก่อนจะใช้งานร้านค้าออนไลน์ครั้งแรก เราจะมาตั้งค่าที่จำเป็นกันก่อน
ด้วยการ คลิกที่เมนูหลัก system -> setting


จากนั้นคลิกที่คำว่า edit ด้านขวามือสุด ตรงบรรทัดที่มีชื่อเว็บไซต์ของคุณ


จากนั้นเรามาดูการตั้งค่าที่จะต้องใส่มีอะไรบ้าง

เมื่อคลิก Edit เสร็จแล้ว ระบบเจ้าเข้าสู่เมนู setting ดังภาพด้านล่าง
เราสามารถตั้งค่าเบื้องต้นในแท๊บ General ก่อนได้เลย
แท๊บ General setting คือการตั้งค่าทั่วไป เช่น ชื่อเว็บไซต์ ชื่อร้าน ชื่อเจ้าของร้าน อีเมล์ของเจ้าของร้าน เบอร์โทรศัพท์

แท็บต่อมาคือ Store setting คือการตั้งค่าทั่วไป เกี่ยวข้อมูลสำหรับ Search Engine เช่น Title คือ ชื่อเว็บหรือชื่อร้าน ที่จะแสดงอยู่บน Title Bar ของเว็บเบราเซอร์  และ Meta Description คือ ข้อมูลสำหรับให้ search engine ทราบว่า เว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง ส่วนช่องอื่นยังไม่ควรเปลี่ยนข้อมูล
แท็บต่อมาคือแท๊บ Local setting คือการตั้งค่าเกี่ยวกับ ข้อมูลเฉพาะพื้นที่ของร้าน เช่น ทตำแหน่งที่อยู่ สกุลเงิน หน่วยวัดความยาว หน่วยน้ำหนักของสินค้าเป็นต้น
Local Setting

แท็บต่อมาคือ Option setting เอาไว้ตั้งค่าการแสดงผล ตัวเลือกของดำเนินงานต่างๆภายในเว็บ ซึ่งร้านค้าทั่วไปสามารถใช้ค่าเริ่มต้นนี้ได้เลย ซึ่งหากต้องการเปลี่ยนแปลงค่าให้ต่างจากนี้จะสามารถดูการตั้งค่าแบบละเอียดได้ในบทต่อๆไป
Option setting

แท๊บต่อมาคือ Image setting คือการตั้งค่าต่างๆ เกี่ยวกับการแสดงผลรูปภาพภายในร้านของเรา อย่างแรกที่ต้องการเปลี่ยนคือโลโก้ของร้าน โดยการคลิกที่ปุ่ม browser จะมี Image manager เด้งขึ้นมา  ลูกค้าสามารถคลิกที่ปุ่ม upload แล้วเลือกรูปภาพจากในคอมพิวเตอร์ของเรา แล้วกด open จากนั้นรูปภาพจะถูก upload ขึ้นบนเซิฟเวอร์ เมื่อรูปภาพปรกกฏบน Image manager แล้ว ให้คลิกดับเบิ้ลคลิกที่รูปนั้นเพื่อเลือกให้เป็นโลโก้ของเว็บเรา
Image setting

อัพโหลดและเลือกโลโก้ร้าน
ส่วนการตั้งค่าที่เหลือเป็นการตั้งค่าชั้นสูงซึ่งจะได้กล่าวในบทต่อไป

ระบบบริหารร้านค้าออนไลน์ : เมนูหลัก


เมนูหลักสำหรับบริหารร้านค้าออนไลน์มีดังนี้ครับ

1. Dashboard คือหน้าแรกหรือหน้าเริ่มต้น
2. Catalog คือระบบเกี่ยวกับข้อมูลสินค้าทั้งหมดที่จะมีไว้สำหรับให้ลูกค้าดูในหน้าร้านของเรา มีทั้งข้อมูลสินค้า , หมวดหมู่สินค้า  , รายชื่อผู้ผลิต , รายการรีวิวสินค้า และ ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในหน้าร้านของเรา
3. Extension เมนูหลักนี้ สำหรับผู้เริ่มต้นอาจจะยังไม่ต้องสนใจมากนัก เนื่องจากเป็นเมนูสำหรับการจัดการชั้นสูง เช่นระบบการจ่ายเงิน ระบบการคำนวณค่าขนส่ง และการปรับแต่งร้านให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกล่าวในบทต่อๆไป
4. Sales คือ เมนูเกี่ยวกับการสั่งซื้อทั้้งหมด เมื่อเวลาเราต้องการดูว่ามีลูกค้ากี่คนสั่งซื้ออะไรบ้าง ต้องมาคลิกที่เมนูนี้ รวมทั้งระบบการส่งเสริมยอดขายต่างๆ เช่นคูปองลดราคาก็อยู่ในเมนูนี้เช่นกัน
5. System คือเมนูสำหรับการตั้งค่าของระบบต่าง ที่เป็นพื้นฐานของร้านค้า เช่น การใส่โลโก้ร้าน  การตั้งค่าสกุลเงิน การตั้งค่ารูปแบบการแสดงผลต่างๆ
6. Reports  คือเมนูสำหรับการดูรายงานต่างๆ เช่น ยอดขาย รายวัน / รายเดือน / รายปี หรือ สินค้าที่ขายดี  สินค้าที่ถูกซื้อมากที่สุด เป็นต้น
7. Help คือเมนูที่มีลิงค์ไปที่คู่มือการใช้งาน หรือข้อมูลการติดต่อเมื่อเกิดปัญหาในการใช้งาน

การบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ : Dashboard

เมื่อเข้าสู่ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์แล้ว หน้าแรกที่คุณจะเจอคือ Dashboard หรือแผงควบคุมหลัก
ซึ่งจะแสดงข้อมูลโดยรวมของร้าน เช่น  ยอดขายทั้งหมด  ออเดอร์การสั่งซื้อทั้งหมด  ออเดอร์การสั่งซื้อล่าสุด 10 ออเดอร์ จำนวนลูกค้า จำนวนผู้ที่มาเขียนรีวิว เป็นต้น

หน้าหลัก dashbaord การจัดการร้านค้าออนไลน์
หน้าหลัก : Dashbaord

ถ้าหากคุณกำลังอยู่ที่หน้าอื่นและต้องการกลับมาที่ Dashboard ก็เพียงแค่คลิกที่ลิงค์ที่มุมซ้ายบนสุด ที่เขียนว่า Dashboard เพียงเท่านี้ก็สามารถกลับมาที่หน้า Dashbaord เริ่มต้นได้